กำจัดติ่งเนื้อ/กระเนื้อ | AES Clinic
top of page

กำจัดติ่งเนื้อ/กระเนื้อ

กำจัด "ติ่งเนื้อ" ด้วยเลเซอร์
โดยแพทย์

"ปลอดภัย ครั้งเดียวจบ คุมงบได้ ไม่มีแผลเป็น"

skintag laser by doctor
ad ติ่งเนื้อ1.jpg
line
facebook
phone

                              เอสคลินิก พร้อมให้คำปรึกษา และ
                                   ให้บริการกำจัดติ่งเนื้อ/กระเนื้อ

  

เปิดบริการ.jpg
5.jpg
skintag  at neck area

   สนใจกำจัดติ่งเนื้อ/กระเนื้อ    สามารถส่งรูปให้แพทย์ประเมินการรักษา   หรือ นัดหมายปรึกษา   (ไม่มีค่าใช้จ่าย)

line
ภาพก่อน-หลัง การกำจัดติ่งเนื้อ/กระเนื้อ
จี้ติ่งเนื้อ
skintage  laser
skintag laser
skintag laser
skintag laser
skintag laser
skintag laser
skintag laser
skintag laser

รีวิวจากผู้ใช้บริการ

รีวิวเลเซอร์ติ่งเนื้อ
skintag laser
skintag laser
skintag laser
skintag laser
เลเซอร์ติ่งเนื้อ
รีวิวติ่งเนื้อ2.jpg
รีวิวติ่งเนื้อ1.jpg
รีวิวจี้ติ่งเนื้อ

คุณเอม

รีวิวตัดติ่งเนื้อ

คุณฝ้าย

คุณผิงอัน

line
facebook
phone

ติ่งเนื้อ

Skin Tags/Acrochordon

ad ติ่งเนื้อ4.jpg
ad ติ่งเนื้อ3.jpg

ติ่งเนื้อ คือ  ก้อนเนื้อที่มีลักษณะนุ่ม  ซึ่งเกิดขึ้นมาและเป็นติ่งอยู่บนผิวหนัง  มีสีและขนาดแตกต่างกันไป โดย  

มีตั้งแต่ขนาดเล็กไปจนถึงประมาณ 2 นิ้ว  ติ่งเนื้อไม่ใช่เนื้อร้าย  และไม่กลายเป็นมะเร็งผิวหนัง  โดยทั่วไปพบใน

บริเวณผิวหนังที่เป็นข้อพับ เช่น คอ รักแร้ ลำตัว ใต้ราวนม กลางลำตัว บริเวณผิวหนังที่ย่นทับกัน เปลือกตา

ต้นขาด้านใน หรือ บริเวณหัวหน่าว มักพบในคนที่มีอายุมากขึ้น  และ มีแนวโน้มเกิดขึ้นกับผู้ที่น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ตั้งครรภ์ หรือ มีบุคคลในครอบครัวเคยเกิดติ่งเนื้อ  และบริเวณที่มีการเสียดสีบ่อยๆ  โดยปกติติ่งเนื้อไม่ก่อให้เกิดอาการเจ็บปวดใดๆ   แต่อาจรู้สึกระคายเคืองบ้าง   หากเสียดสีกับเสื้อผ้า   หรือถ้าก้านที่ยึดติ่งเนื้อถูกบิด    อาจทำให้รู้สึกเจ็บ

ผู้มีปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดติ่งเนื้อ

  • ภาวะดื้ออินซูลิน ภาวะนี้คือภาวะที่นำไปสู่โรคเบาหวานชนิดที่ 2 และภาวะน้ำตาลผิดปกติ (Prediabetes) โดยภาวะดื้ออินซูลินอาจเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดติ่งเนื้อ เนื่องจากร่างกายดูดซึมน้ำตาลกลูโคสจากกระแสเลือดได้ไม่ดี ทั้งนี้ งานวิจัยชิ้นหนึ่งได้แสดงให้เห็นว่าติ่งเนื้อเกี่ยวเนื่องกับดัชนีมวลกายที่มาก ภาวะไตรกลีเซอร์ไรด์สูง และภาวะดื้ออินซูลิน

  • ภาวะอ้วน ผู้ที่ประสบภาวะอ้วน จะป่วยเป็นโรคผิวหนังช้าง (Acanthosis Nigricans)  โดยโรคนี้จะเกิดติ่งเนื้อจำนวนมากตามผิวหนังบริเวณคอและรักแร้

  • การตั้งครรภ์ ติ่งเนื้ออาจเป็นผลข้างเคียงจากการตั้งครรภ์ เนื่องจากผู้ที่ตั้งครรภ์จะมีระดับฮอร์โมนและน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ติ่งเนื้ออาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับระบบต่อมไร้ท่อและภาวะฮอร์โมนไม่สมดุล

  • เชื้อเอชพีวี งานวิจัยบางชิ้นได้ศึกษาติ่งเนื้อจำนวน 37 ชิ้น ที่ขึ้นตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย พบว่าติ่งเนื้อจำนวนร้อยละ 50 ปรากฏดีเอ็นเอของเชื้อเอชพีวี (Human Papillomavirus: HPV) จึงกล่าวได้ว่าเชื้อเอชพีวีอาจเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิด

  • พันธุกรรม ผู้ที่บุคคลในครอบครัวเคยมีติ่งเนื้อขึ้นตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย อาจเสี่ยงเกิดติ่งเนื้อได้

 

การรักษา

โดยทั่วไปแล้ว ติ่งเนื้อไม่ใช่เนื้อร้ายหรือกลายเป็นมะเร็งได้ อย่างไรก็ตาม ติ่งเนื้ออาจกลายเป็นภาวะก่อนเป็นมะเร็งหรือเป็นมะเร็ง ซึ่งพบได้ไม่บ่อยนัก ผู้ที่ต้องการกำจัดติ่งเนื้อควรปรึกษาแพทย์ให้รอบคอบ ส่วนใหญ่แล้ว มักกำจัดติ่งเนื้อออกเพื่อความสวยงาม โดยมีวิธีรักษาหลายวิธี ดังนี้

  • ผ่าตัดติ่งเนื้อ วิธีนี้กำจัดติ่งเนื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ก็เสี่ยงเกิดเลือดออกได้มาก

  • บำบัดด้วยความเย็นจัด (Cryotherapy) วิธีนี้จะรักษาติ่งเนื้อด้วยอุณหภูมิเย็นจัด อีกทั้งยังใช้รักษาผิวหนังบริเวณที่เกิดอาการเจ็บปวดจากเส้นประสาท มะเร็งบางชนิด หรือเซลล์ผิวหนังที่เกิดความผิดปกติ โดยแพทย์จะสอดอุปกรณ์สำหรับรักษาเข้าไปข้างในเนื้อเยื่อที่อยู่ใกล้กับบริเวณที่เส้นประสาทถูกทำลาย และลดอุณหภูมิของเครื่องมือจนเย็นจัด เพื่อแช่แข็งเส้นประสาท ซึ่งจะช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดหรือระคายเคือง

  • จี้ติ่งเนื้อ (Cauterization) วิธีนี้จะใช้ไฟจี้ติ่งเนื้อที่มีสีผิดปกติหรือทำให้เกิดการระคายเคืองให้หลุดออกไป

  • การใช้เลเซอร์ เช่น คาร์บอนไดออกไซด์เลเซอร์ (Carbondioxide (CO2) Laser) ช่วยกำจัดติ่งเนื้อได้อย่างแม่นยำและมีประสิทธิภาพสูง ก่อนทำมักจะทายาชาทิ้งไว้ 45 นาที  เพื่อช่วยบรรเทาอาการเจ็บหรือปวด เนื่องจากเลเซอร์มีความละเอียดและแม่นยำสูงมาก จึงสามารถเลือกตัดเฉพาะเนื้อเยื่อที่ต้องการโดยไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อเนื้อเยื้อรอบๆ รวมถึงมีผลในการหยุดเลือดบริเวณที่ผ่าตัด จึงทำให้แผลมีขนาดเล็ก ดูแลรักษาง่าย มีโอกาสเกิดแผลเป็นน้อย  นอกจากนี้ ยังใช้ในการผ่าตัดรักษาโรคผิวหนัง และ เนื้องอกของผิวหนัง  เช่น  ไฝ ขี้แมลงวัน กระเนื้อ หูด  เนื้องอกของต่อมไขมัน  เนื้องอกของต่อมเหงื่อ สิวหัวปิด และสิวหิน ซึ่งทาง  เอส คลินิกเวชกรรม  ได้ใช้เลเซอร์คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2)  ในการกำจัดติ่งเนื้อ

การดูแลหลังการรักษาด้วย CO2 laser

  • ทายาตามที่แพทย์สั่ง

  • หลีกเลี่ยงไม่ให้แผลโดนน้ำ อย่างน้อย 2-3 วัน

  • หลีกเลี่ยงแสงแดดแรง เป็นเวลา 2 สัปดาห์

  • หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ร้อน และงดออกกำลังกายที่ทำให้มีเหงื่อ อย่างน้อย 2 สัปดาห์

  • ต้องทาครีมกันแดดทุกวัน

  • หลังการรักษาจะมีแผลตกสะเก็ด ห้ามแกะเกาสะเก็ดแผล โดยทั่วไปสะเก็ดแผลจะหลุดเองภายใน 7-14 วัน 

  • ขณะที่มีแผลและหลังสะเก็ดหลุดใหม่ๆ ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาหรือเครื่องสำอางที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองผิว  *** แผลจะหายภายใน 1-2 สัปดาห์ ในบางรายอาจนานถึง 3 สัปดาห์

คำแนะนำ

ไม่ควรกำจัดติ่งเนื้อด้วยตนเอง เช่น การดึงออกเอง อาจทำให้เลือดออกหรือมีแผลเป็นได้ และ การแต้มหรือจี้ด้วยกรดโดยผู้ที่ไม่ชำนาญ อาจทำให้เกิดแผลเป็นรุนแรงตามมาได้

โดย : พญ.ณภากุล โรจนสุภัค ปริญญาโทสาขาตจวิทยา.,

Fellowship Training in Cutaneous and Laser Surgery, Institute of Dermatology, Thailand

แผนที่เอส.jpg
bottom of page