รักษาคีลอยด์ | AES Clinic
top of page

รักษาคีลอยด์   ดยแพทย์

"คีลอยด์ (Keloid) หากปล่อยไว้..ไม่รักษา

จะใหญ่ขึ้น  และ นูนขึ้น"

keloid
keloid
keloid

    คีลอยด์ คือ แผลเป็นที่มีลักษณะ   

"นูนเพิ่มขึ้น และขยายขนาดเกินกว่าขอบเขตของแผลเริ่มต้น"

keloid
keloid
ad keloid2.jpg

หยุดปัญหา   ปรึกษาฟรี ที่เอส คลินิก

เปิดบริการ.jpg
5.jpg
line
facebook
phone

ฉีดยาคีลอยด์         เริ่มต้น 500.-
เลเซอร์คีลอยด์     เริ่มต้น 1,000.-
ผ่าตัดคีลอยด์      เริ่มต้น 4,000.-  
 (รวมค่าแพทย์ ค่ายาชา และตัดไหม)

                          สามารถส่งรูปให้แพทย์ประเมินการรักษา                                   หรือ นัดหมายปรึกษา   (ไม่มีค่าใช้จ่าย)

line

ภาพก่อน-หลังการรักษาคีลอยด์

keloid treatment
keloid treatment
keloid treatment
keloid treatment
keloid treatment
keloid treatment
keloid treatment

รีวิวจากผู้ใช้บริการ

ad keloid รีวิว1.jpg
line
facebook
phone

คีลอยด์ (Keloid)

keloid.jpg

การป้องกัน

พยายามหลีกเลี่ยงการทำให้เกิดแผล โดยเฉพาะในคนที่มีความเสี่ยงที่จะเป็นคีลอยด์มากกว่าคนทั่วไป สามารถสังเกตได้จากรอยการฉีดวัคซีนที่บริเวณหัวไหล่ หากพบว่ามีแผลเป็นนูน  นั่นหมายถึงมีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นคีลอยด์ได้ง่าย หากพบว่าตัวเองอยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสเป็นคีลอยด์ได้ง่ายจะต้องระมัดระวังไม่ให้เกิดแผล หากมีแผลเกิดขึ้น จะต้องดูแลและทำความสะอาดแผลอย่างดี ไม่แกะเกาจนแผลลุกลามติดเชื้อ จะช่วยลดโอกาสการเกิดคีลอยด์ได้

คีลอยด์ อาจเกิดขึ้นทันทีที่แผลหาย หรือหลังจากที่แผลหายดีแล้วระยะเวลาหนึ่ง อาจใช้เวลาเป็นเดือนหรือเป็นปีในการก่อตัว ถ้าหากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่รักษา  แผลเป็นคีลอยด์จะขยายขนาดใหญ่ขึ้น

  • คีลอยด์สามารถเกิดได้ทุกส่วนของร่างกาย ตำแหน่งในร่างกายที่พบได้บ่อย ได้แก่ หัวไหล่ ติ่งหู หน้าอก บริเวณหลังส่วนบนและบริเวณอวัยวะที่ขยับหรือเคลื่อนไหวบ่อย

  • พบในคนที่มีสีผิวเข้มมากกว่าผิวขาวถึง 5 เท่า

  • พบในวัยรุ่นมากกว่าผู้ใหญ่หรือวัยชรา

  • มักพบในคนที่มีประวัติการเกิดคีลอยด์ในครอบครัว

สาเหตุ

ยังไม่ทราบสาเหตุการเกิดที่แท้จริง เชื่อว่าคีลอยด์เกิดจากความผิดปกติของกระบวนการหายของแผลตามธรรมชาติ โดยจะมีการสร้างคอลลาเจนเพื่อซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่เสียหายมากเกินกว่าปกติ โดยคีลอยด์จะค่อยๆ ขยายขนาดและนูนขึ้นกว่าแผลเริ่มต้น

อาการ

ส่วนใหญ่มีอาการคันที่คีลอยด์ มากน้อยขึ้นกับแต่ละบุคคล การเกาจะทำให้คีลอยด์นูนและขนาดใหญ่ขึ้น บางคนอาจมีอาการเจ็บและตึงที่คีลอยด์

การรักษา ทำได้หลายวิธี ได้แก่

1. การผ่าตัด ทำโดยผ่าตัดคีลอยด์ออกหรือลดขนาดให้เล็กลง มักใช้ในกรณีที่คีลอยด์มีขนาดเล็กและเกิดในบริเวณที่สามารถเย็บแผลได้ หลังการรักษาโดยการผ่าตัดมีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำได้  แพทย์มักทำการผ่าตัดร่วมกับการฉีดยาหรือวิธีการรักษาอื่น

2. Pressure garment  คือ ผ้ายืดที่ตัดเพื่อกดรัดบาดแผล  โดยใช้แรงกดที่สม่ำเสมอสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย เพื่อช่วยทำให้แผลเป็นนิ่มและเรียบขึ้น การใช้ Pressure garment ควรเริ่มใช้ทันทีที่บาดแผลหายสนิท โดยใส่ต่อเนื่องอย่างน้อย 16-20 ชั่วโมงต่อวันเป็นเวลาอย่างน้อย 6 เดือน

3. การฉีดยา เป็นการฉีดยาสเตียรอยด์เข้าไปที่คีลอยด์โดยตรง (Intralesional steroid injection)     โดยฉีดต่อเนื่องทุก 1 เดือน  ทั้งนี้ความถี่ในการฉีดขึ้นอยู่กับการตอบสนองของคีลอย์ต่อยา การรักษาด้วยการฉีดยาเข้าไปที่คีลอยด์อาจใช้เป็นการรักษาเดี่ยวๆ หรือรักษาร่วมกับวิธีอื่น เช่น ฉีดหลังผ่าตัด ซึ่งพบว่าลดอัตราการกลับมาเป็นอีก (recurrence rate) ได้เฉลี่ยถึง 50%

4. Topical Silicone gel การใช้ Silicone gel จะช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับแผล โดยรูปแบบที่ใช้มีทั้งแบบที่เป็นเจลทาแผล หรือเป็นแผ่นปิดแผล ซึ่งต้องปิดอย่างน้อย 12-24 ชั่วโมงต่อวัน  หรือเว้นเฉพาะเวลาอาบน้ำ การใช้ Silicone gel สามารถใช้เป็นการรักษาเดี่ยว หรือใช้ร่วมกับการรักษาวิธีอื่น

5. การรักษาด้วยเลเซอร์ มีการนำเลเซอร์ดาย์ (Pulsed Dye Laserมารักษา

แผลเป็นนูนและ   คีลอยด์ เลเซอร์สามารถช่วยให้แผลเป็นนูนหรือคีลอยด์ราบลงได้ในระดับหนึ่ง แต่มักจะไม่ราบสนิท และแผลเป็นมีโอกาสที่จะกลับนูนขึ้นมาอีกเช่นกัน เพราะเชื่อว่าแสงเลเซอร์ชนิดนี้จะไปทำลายหลอดเลือดที่มาเลี้ยงแผลเป็น ทำให้แผลเป็นฝ่อลง ในทางปฏิบัติแพทย์มักรักษาแผลเป็นนูนโดยใช้เลเซอร์ควบคู่ไปกับการฉีดยาเข้าไป

6. การฉายรังสี เพื่อป้องกันไม่ให้คีลอยด์นูนขึ้นและขยายใหญ่ขึ้น นิยมใช้หลังการผ่าตัดคีลอยด์ พบว่ามีประสิทธิภาพการรักษาสูงถึง 65-99%  ไม่นิยมใช้เป็นการรักษาเดี่ยว (monotherapy)  เนื่่องจากต้องใช้รังสีในปริมาณสูงมาก ซึ่งอาจก่อให้เกิดมะเร็งผิวหนังตามมาได้

ปัจจุบันพบว่ายังไม่มีวิธีการรักษาแผลเป็นคีลอย์วิธีใดที่ได้ผลดีที่สุด การรักษาคีลอยด์ที่ดีที่สุดจึงเป็นการใช้การรักษาหลายวิธีร่วมกัน เช่น การผ่าตัดร่วมกับฉีดยาเข้าไปที่คีลอยด์ หรือ การฉีดยาเข้าไปที่คีลอยด์ร่วมกับการใช้แผ่นซิลิโคนแปะ เป็นต้น แนะนำให้ปรึกษาแพทย์เพื่อวินิจฉัยและให้การรักษาที่ถูกต้อง เหมาะสม 

แผนที่เอส.jpg
bottom of page